เมนู

อสนฺตสํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว
ทำลายสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 10 ดังต่อไปนี้.
บทว่า สญฺโญชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ 10. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ทำลายสังโยชน์ 10 เหล่านั้นด้วยมรรคนั้น ๆ. บทว่า อสนฺตสํ ชีวิต-
สงฺขยมฺหิ ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต คือความแตกแห่งจุติจิต ท่านเรียกว่า
ความสิ้นชีวิต. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิตนั้น เพราะ
ละความเยื่อใยในชีวิตได้แล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าครั้นแสดงสอุปาทิ-
เสสนิพพานธาตุของคนแล้ว เมื่อจบคาถาก็ได้ปรินิพพานแล้ว ด้วยอนุ-
ปาทิเสสนิพพานธาตุด้วยประการฉะนี้.
จบคาถาที่ 10

คาถาที่ 11


41) ภชนฺติ เสวนฺติ จ การณตฺถา
นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺช มิตฺตา
อตฺตตฺถปญฺญา อสุจี มนุสฺสา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

บุรุษทั้งหลายผู้ไม่สะอาด มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน
ย่อมคบหาสมาคนเพราะมีเหตุเป็นประโยชน์ ผู้ไม่มีเหตุ
มาเป็นมิตร หาได้ยากในทุกวันนี้ บุคคลพึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยคาถาที่ 11 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ภชนฺติ ย่อมคบ คือเข้าไปนั่งชิดกัน. บทว่า เสเวนฺติ
ย่อมเสพ คือย่อมบำเรอด้วยอัญชลีกรรมเป็นต้น และด้วยยอมรับทำ
การงานให้. ชื่อว่า การณฺตถา เพราะมีประโยชน์เป็นเหตุ. อธิบายว่า
ไม่มีเหตุอื่นเพื่อจะคบและเพื่อจะเสพ. ท่านกล่าวว่า ย่อมเสพเพราะ
มีประโยชน์เป็นเหตุ. บทว่า นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺชมิตฺตา มิตรในวันนี้
ไม่มีเหตุหาได้ยาก คือ มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุ เพราะเหตุแห่งการได้
ประโยชน์อย่างนี้ว่า เราจักได้อะไรจากมิตรนี้ประกอบด้วยความเป็นมิตร
อันพระอริยะกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
มิตรใดมีอุปการะ 1 มิตรใดร่วมสุขร่วมทุกข์ 1
มิตรใดแนะนำประโยชน์ 1 มิตรใดมีความรักใคร่ 1
ดังนี้.
อย่างเดียว หาได้ยาก ชื่อว่า มิตรในวันนี้. ชื่อว่า อตฺตทตฺถปญฺญา
เพราะมีปัญญาอันสำเร็จประโยชน์ด้วยมุ่งตนเท่านั้น ไม่มุ่งถึงคนอื่น (เห็น
แก่ตัว). นัยว่าคัมภีร์เก่าใช้ว่า ทิฏฺฐตฺถปญฺญา มีปัญญามุ่งประโยชน์
ปัจจุบัน. ท่านอธิบายว่า มีปัญญาเพ่งถึงประโยชน์ที่ตนเห็นเดียวนั้น.
บทว่า อสุจี สกปรก คือ ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
อันไม่สะอาด คือไม่ประเสริฐ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว

ในก่อนนั่นแล. บทใดที่ยังมิได้กล่าวเพราะเกรงว่าจะพิสดารเกินไปใน
ระหว่าง ๆ บทนั้นทั้งหมด พึงทราบตามท่านองแห่งปาฐะนั่นแล.
จบคาถาที่ 11
จบอรรถกถาจตุตถวรรค
จบอรรถกถาขัคควิสาณสุตตนิทเทส
แห่ง
อรรถกถขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ชื่อว่าสัทธัมมปัชโชติกา

นิคมคาถา


คัมภีร์มหานิทเทสนั้นใด อันพระเถระ1ผู้เป็นใหญ่แห่งบุตรของพระ
สุคตเจ้า ผู้ยินดียิ่งในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ผู้มีคุณมั่นคง จำแนกไว้ดีแล้ว
อรรถกถาใดแห่งคัมภีร์มหานิทเทสนั้น ที่ข้าพเจ้า (ผู้แต่ง) อาศัยนัยของ
อรรถกถาก่อน ๆ ปรารภแล้วตามความสามารถ อรรถกถานั้นเข้าถึง
ความสำเร็จแล้ว.
มหาวิหารใด ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองอนุราธบุรีอัน
ประเสริฐ พระมหาสถูปใดซึ่งเป็นยอดแห่งมหาวิหารนั้น
ก่อด้วยศิลาสวยงาม ประดับด้วยแก้วผลึก ตั้งอยู่ทาง
ทิศตะวันตกของเมืองอนุราธบุรีนั้น.

พระราชาทรงพระนามว่า กิตติเสน เป็นนักเขียน
ทรงมีพระจริยาวัตรงดงาม สมบูรณ์ด้วยความประพฤติ
สะอาด ทรงประกอบในกุศลธรรม ทรงให้สร้างบริเวณ
มีต้นไม้ที่มีเงาร่มเย็น พรั่งพร้อมด้วยธารน้ำ ล้อมด้วย
รั้วไม้.

พระมหาเถระชื่อว่า อุปเสน ผู้อยู่ในบริเวณกว้าง เป็น
นักเขียน ประกอบด้วยกุศลธรรม พระกิตติเสนราชาทรง
ถวายบริเวณแก่พระอุปเสนมหาเถระนั้น พระอุปเสนเถระ
ผู้มีศีลมั่นคง เป็นครู อยู่ในบริเวณนั้น ได้รวบรวมคัมภีร์-
สัทธัมมปัชโชติกานี้ไว้.

อรรถกานิทเทสสำเร็จลงในปีที่ 26 แห่งพระเจ้า
1. พระสารีบุตรเถระ